5 Tense ที่ต้องแม่น

Present Simple

Subject + กริยาช่อง 1 (เติม S เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ ยกเว้น I กับ You)

การใช้งาน

  1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นความจริงตลอดไป หรือเป็นความจริงตามธรรมชาติ สัจธรรม วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์
  2. ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นประเพณี นิสัย สุภาษิต ซึ่งไม่ได้บ่งเฉพาะเจาะจงว่าเวลาใด
  3. ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นจริงในขณะที่พูด เช่น ความชอบ ไม่ชอบ ความสามารถ ความคิดเห็นของคุณและผู้คนที่ยังเป็นจริงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ อาชีพปัจจุบัน
  4. ใช้กับเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น (นิยมใช้กับกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง) โดยใส่คำวิเศษณ์ที่บอกเวลาเป็นอนาคตด้วยก็ได้
  5. ใช้กับเหตุการณ์ในประโยค subordinate clause ที่ขึ้นต้นด้วย If, When, whenever, unless, until, till , as soon as, while, before, after, as long as ซึ่งบ่งบอกเวลาเป็นอนาคต
  6. ใช้กับเหตุการณ์ในกรณีสรุปเรื่องที่เล่ามา แม้เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นแล้วในอดีต เพื่อให้เรื่องมีชีวิตชีวา เหมือนเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปัจจุบัน นิยมใช้ในการเขียนนิยาย บทละคร
  7. การกระทำของกริยาที่ไม่สามารถแสดงอาการให้เห็นได้ เช่น การนึกคิด การรับรู้ ภาวะจิตใจ ความเป็นเจ้าของ
  8. ใช้กับเหตุการณ์ที่บุคคลหรือสัตว์ทำเป็นประจำ หรือเป็นนิสัยเคยชิน โดยมักจะมีคำที่แสดงความถี่อยู่ด้วย
Present Continuous

Subject + is, am, are + กริยาเติม ing

  1. ใช้กับเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด เป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่จบ และเป็นเหตุการณ์สั้นๆ ถ้าหากยาวจะใช้ present perfect continuous แทน มักจะมีคำกริยาวิเศษณ์ now , at the present, at this moment, at the present time, these days นำมาใช้เสมอ
  2. ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งคาดว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นแน่นอน มักใช้กับกริยาที่แสดงการเคลื่อนที่ เคลื่อนไหว และจะมีคำบอกเวลาเป็นอนาคตมาร่วมด้วยเสมอ
  3. ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นในระยะยาว ซึ่งขณะที่พูดประโยคนี้ออกไปนั้นไม่จำเป็นต้องกระทำสิ่งนั้นอยู่ก็ได้ แต่ที่แน่ๆในช่วงเวลาอันยาวจะทำสิ่งนั้นอยู่จริงๆ และมักจะมีคำบอกเวลาระยะยาวมากำกับไว้ ได้แก่ this week, this month, this year
  4. ถ้า present continuous 2 ประโยคเชื่อมด้วย and ให้ตัด verb to be ของประโยคที่อยู่หลัง and ออก
Present Prefect

Subject + have,has + กริยาช่องที่ 3

  1. ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต และเหตุการณ์นั้นยังคงต่อเนื่องมาถึงเวลาปัจจุบัน โดยมี adverb เหล่านี้ประกอบ since, for, so far , up to now , up to present time
  2. ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้ทำซ้ำๆหลายครั้งหลายหนในอดีต และเหตุการณ์ที่ว่าอาจทำต่อไปในอนาคต แต่ไม่บอกว่าทำไปเมื่อไร เวลาเท่าไร มักจะมี adverb เหล่านี้ประกอบ many time, several time, over and over
  3. ใช้ในเหตุการณ์ที่เคยหรือไม่เคยทำในอดีต ซึ่งไม่ได้บ่งบอกเวลาเอาไว้ จะมี adverb เหล่านี้กำกับ never, ever, once, twice
  4. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ได้เกิดหรือกระทำไปแล้ว แต่ผลของการกระทำนั้นยังประทับใจผู้พูดอยู่
  5. ใช้กับเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเสร็จสิ้น จบลงไปใหม่ๆในเวลาไม่นาน โดยมี adverb เหล่านี้ประกอบ already , just, yet, finally, eventually, recently 
Past Simple

Subject + กริยาช่อง 2

  1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ได้เกิดขึ้นและจบลงแล้วก่อนที่จะพูดประโยคนี้ออกมา
  2. ใช้กับการกระทำซึ่งกระทำเป็นประจำในอดีตแต่ปัจจุบันมิได้กระทำการณ์นั้นอีกแล้ว กรณีนี้จะต้อวมี adverb บอกเวลาที่เป็นอดีตมากำกับ adverb บอกความถี่ด้วย
  3. ใช้กับการกระทำในออดีต แสดงลำดับความต่อเนื่องของเหตุการณ์
  4. ใช้กับกริยาในประโยคที่อยู่หลังสำนวนต่อไปนี้ I would rather... , It's time... , It's high time... , It's about time...
Future Simple

Subject + will,shall + กริยาช่อง 1(ไม่ต้องเดิม s)
  • Shall ใช้กับ subject บุรุษที่ 1 ส่วน Will ใช้กับ Subject บุรุษที่ 2,3 ถ้าใช้สลับกันจะสื่อถึงการให้สัญญา
  1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งขฯะที่พูดนี้เหตุการณ์หรือการกระทำนั้นยังไม่ทันเกิดขึ้น และมักจะมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่เป็นอนาคตมาร่วมเสมอ
  2. ประโยคแสดงอนาคตที่มีกริยา 2 ตัวให้ใช้ Future simple กับกริยาเพียงตัวเดียว ส่วนอีกตัวหนึ่งให้ใช้ present simple หรือ present perfect tense
กรณีที่ห้ามใช้ going to แทน will, shall
  1. เหตุการณ์ที่เป็นอนาคตอันแท้จริง จะต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้
  2. ประโยคเงื่อนที่เชื่อมด้วย if
  3. กริยาแสดงการรับรู้
ที่มา 
สำราญ คำยิ่ง, Advance English grammar for high learner 

ความคิดเห็น